แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แถลงก่อนการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ 20 หรือ G20 ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคมนี้ โดยระบุว่า การประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ที่กรุงโรม ต้องไม่อยู่บนพื้นฐานความโลภและความเห็นแก่ตัว และประกันให้มีการจัดสรรวัคซีนโรคโควิด-19 อย่างเป็นธรรมไปทั่วโลก
เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ผู้นำประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลก 20 ประเทศ จัดการประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ประจำปีทางออนไลน์ โดยเน้นการสนับสนุนการจัดสรรวัคซีนโรคโควิด-19 ให้กับประชาชนทุกคน อย่างไรก็ดี หนึ่งปีผ่านไป ประเทศมหาอำนาจในโลกยังคงไม่สามารถปกป้องชีวิตของประชาชนนับล้านคนได้ แต่เลือกที่จะกักตุนวัคซีน ส่งผลให้เกิดความขาดแคลนวัคซีน และส่งผลกระทบรุนแรงต่อประเทศที่เหลือในโลก ในปัจจุบัน ประเทศร่ำรวยกักตุนวัคซีนไว้แล้วประมาณ 500 ล้านโดส
แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า การจัดสรรวัคซีนเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ทำให้ทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงจากโรคโควิด-19 เกิดความหวังว่าจะสามารถช่วยรักษาชีวิตประชาชนนับล้านคน อย่างไรก็ดี นับแต่การฉีดวัคซีนเข็มแรกในโลก อัตราการเสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคนเป็นเกือบ 5 ล้านคนในปี 2564 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเข้าถึงวัคซีนที่ไม่เท่าเทียมอย่างสุดโต่ง
“ยากที่จะเข้าใจถึงความโลภและความเห็นแก่ตัวที่อยู่เบื้องหลังการเสียชีวิตของประชาชนเหล่านี้ ในขณะที่สัดส่วนประชากรในประเทศ G20 ได้รับวัคซีนแล้วประมาณ 63% แต่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางค่อนไปทางต่ำมีประชากรเพียง 10% ที่ได้รับวัคซีน สิ่งที่ผู้นำเหล่านี้ทำในปีที่ผ่านมามีแต่การกักตุน และสนับสนุนให้เกิดความขาดแคลนวัคซีนอย่างเต็มที่ โดยร่วมมือกับบริษัทยาขนาดใหญ่ การเสียชีวิตหลายล้านคนแสดงให้เห็นความเพิกเฉยอย่างสิ้นเชิงต่อชีวิตมนุษย์ น่ากลัวเป็นอย่างยิ่งที่เห็นผลกำไรสำคัญกว่าชีวิตคน และเป็นความเพิกเฉยอย่างสิ้นเชิงต่อพันธกรณีระดับโลก”
ในปี 2563 ประเทศ G20 ได้สั่งซื้อล่วงหน้าและได้จัดซื้อวัคซีนโรคโควิด-19 ที่มีอยู่เกือบทั้งหมด ตั้งแต่ก่อนจะมีการอนุมัติให้ใช้วัคซีนเหล่านี้ด้วยซ้ำ หลายประเทศกักตุนวัคซีนมากถึงขนาดที่สามารถใช้ฉีดประชากรของตนเองได้หลายรอบด้วยกัน ในปี 2564 พวกเขายังคงกักตุนวัคซีนส่วนเกินต่อไป โดยเลือกที่จะเก็บไว้เฉยๆ แทนที่จะนำมาจัดสรรให้ประชาชนที่ต้องการวัคซีนเป็นอย่างมาก
ในวันที่ 22 กันยายน 2564 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดตัวแคมเปญรณรงค์ระดับโลก “นับถอยหลัง 100 วัน” #100DayCountdown เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่จะฉีดวัคซีน 40% ของประชากรในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางค่อนไปทางต่ำภายในสิ้นปีนี้ แคมเปญนับถอยหลัง 100 วัน เรียกร้องให้รัฐบาลที่มีวัคซีนส่วนเกิน นำมาจัดสรรให้กับประเทศอื่นๆ ภายในสิ้นปีนี้
“ในขณะที่บางประเทศสัญญาที่จะนำวัคซีนมาจัดสรรใหม่ แต่หลายประเทศยังคงไม่กำหนดกรอบเวลาอย่างชัดเจน โดยบางประเทศเพียงแต่สัญญาว่าจะจัดสรรวัคซีนให้ภายในเดือนกันยายนปีหน้า”
“ต้องมีการจัดสรรวัคซีนในตอนนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราต้องการให้มีการเปิดประเทศอีกครั้ง และช่วยให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างเป็นธรรม เวลากำลังเหลือน้อยลงทุกที ถึงเวลาที่จะต้องดำเนินการในตอนนี้” แอกเนส คาลามาร์ดกล่าว
ก่อนถึงการประชุม G20 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรวมทั้งสมาชิกเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อวัคซีน ขอเรียกร้องผู้นำกลุ่มประเทศ G20 ให้จัดสรรวัคซีนใหม่ โดยจะจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อสร้างแรงกดดันในการประชุมซึ่งจะมีขึ้นที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในวันที่ 29 ตุลาคมนี้
งานวิจัยชี้ ชาวอเมริกันกว่า 4 ใน 10 อาจจะไม่ฉีดวัคซีนโควิด-19
งานวิจัยจากสถาบันวิจัย Pew ของสหรัฐ รายงานผลการสำรวจว่า ชาวอเมริกันมากกว่า 4 ใน 10 คนชี้ว่า พวกเขา “อาจจะ” ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ขณะที่กระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐวางแผนจะทุ่มงบประมาณมากกว่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทำโครงการให้ความรู้และสร้างความเชื่อมั่นต่อวัคซีนโควิด-19 แก่ประชาชน
สหรัฐอเมริกาเริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปกลับยังไม่ให้การยอมรับในวัคซีนดังกล่าว โดยการสำรวจของสถาบันวิจัย Pew ที่ทำการสำรวจประชาชนชาวอเมริกันกว่า 12,648 คน เผยว่า กว่า 4 ใน 10 คนอาจจะไม่เข้ารับวัคซีนโควิด-19
อย่างไรก็ดี ผลการสำรวจดังกล่าวมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยในครั้งนั้น ประชาชนมากกว่า 50% ไม่ต้องการเข้ารับวัคซีนโควิด-19 แต่ทั้งนี้ ยังมีประชาชนอเมริกันกว่า 21% ที่ไม่ต้องการรับวัคซีนโควิด-19 และมั่นใจว่าข้อมูลต่าง ๆ จะไม่ทำให้พวกเขาเปลี่ยนใจ
ความไม่เชื่อมั่นที่เกิดขึ้นในวงกว้างนี้ อาจมีสาเหตุมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า วัคซีนโควิด-19 ดังกล่าวใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนาเพียง 8 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รวดเร็วมากที่สุดตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา หรือมาจากสาเหตุที่ว่า หากเกิดอะไรขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ประชาชนจะไม่สามารถยื่นฟ้องร้องต่อผู้ผลิตวัคซีนอย่างบริษัท Pfizer, BioNTech และ Moderna ได้จนกว่าจะถึงปี 2024
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงสุขภาพและบริหารมนุษย์สหรัฐ จึงวางแผนทุ่มงบประมาณกว่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อวัคซีนโควิด-19 ทว่าโครงการของรัฐบาลก็ถูกตั้งคำถามถึงความเป็นกลางทางการเมืองด้วยเช่นกัน ส่งผลให้รัฐต่าง ๆ อย่างน้อย 15 รัฐทั่วประเทศเริ่มจัดตั้งโครงการสร้างความเชื่อมั่นของตัวเอง ในช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
เข็มเดียวพอ! วัคซีนโควิด-19 ของ “จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน” ยื่นจดทะเบียนใช้ฉุกเฉินที่สหรัฐแล้ว
บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ยื่นขออนุมัติฉุกเฉินใช้งานวัคซีนโควิด-19 แบบเข็มเดียว ต่อองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) เมื่อวันพฤหัสบดี (4 ก.พ.) ที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นวัคซีนโควิด-19 ตัวที่ 3 ที่ยื่นอนุมัติใช้ในสหรัฐ
ในแถลงการณ์ของบริษัท ระบุว่า หากวัคซีนดังกล่าวได้รับการอนุมัติใช้ บริษัทจะพุ่งเป้าการผลิตให้ได้ 100 ล้านโดสในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 และวัคซีนของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ก็มีข้อแตกต่างจากวัคซีนที่ใช้อยู่ในสหรัฐขณะนี้ (วัคซีนไฟเซอร์-ไบออนเทค และวัคซีนโมเดิร์นนา) นั่นคือ วัคซีนนี้ไม่จำเป็นต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิแช่แข็ง และฉีดเพียงเข็มเดียวเท่านั้น
ผลการทดลองโดยรวมของวัคซีนดังกล่าวชี้ว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 กว่า 66% หลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 4 สัปดาห์ ทั้งนี้ การทดลองในสหรัฐ มีประสิทธิภาพสูงถึง 72% ตามมาด้วยลาตินอเมริกาที่มีประสิทธิภาพ 66% และในอเมริกาใต้ที่ 57% อย่างไรก็ตาม จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ระบุว่า วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการของโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงได้มากกว่า 85% และยังไม่มีรายงานการแพ้วัคซีนในกลุ่มผู้ร่วมการทดลองแต่อย่างใด
อังกฤษเร่งฉีด “วัคซีนโควิด-19” ตั้งเป้าทุกคนได้ฉีดเข็มแรกภายในกรกฎานี้
รัฐบาลประเทศอังกฤษประกาศ ประชาชนผู้ใหญ่ชาวอังกฤษทั้งหมดจะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกภายในเดือนกรกฎาคม โดยนายบอริส จอห์นสัน ระบุว่า เป้าหมายดังกล่าวจะทำให้ประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการป้องกันโรคเร็วกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยให้ประเทศสามารถคลายมาตรการล็อกดาวน์ได้ทั่วประเทศ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะแถลงการณ์อีกครั้งในวันจันทร์นี้
แมตต์ แฮนค็อก รัฐมนตรีสาธารณสุขของอังกฤษ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC โดยชี้ว่า ประชาชนผู้ใหญ่ของอังกฤษมากกว่า 1 ใน 3 หรือประมาณ 17 ล้านคน ได้รับการฉีดวัคซีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป้าหมายต่อไปคือการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่มีอายุ 50 ปี หรือมีปัญหาสุขภาพ ก่อนวันที่ 15 เมษายน ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิมคือวันที่ 1 พฤษภาคม
อังกฤษใช้วัคซีนโควิด-19 จาก 2 บริษัท นั่นคือ ไฟเซอร์ และแอสตร้าเซเนก้า อย่างไรก็ตาม อังกฤษจะยืดระยะการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ไปเป็น 12 สัปดาห์หลังจากฉีดเข็มแรกแล้ว เพื่อให้สามารถฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้มากที่สุด ทว่าบริษัทไฟเซอร์ได้ระบุว่า พวกเขาไม่มีข้อมูลที่สนับสนุนการยืดระยะการฉีดเข็มที่ 2
แม้อังกฤษจะเป็นประเทศแรกของโลกที่มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 แต่รัฐบาลก็ยังได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการรับมือกับโรคที่ไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 120,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในยุโรป
“อินเดีย” พร้อมเป็นผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 รายใหญ่ของโลก
ประเทศอินเดียอาจกลายเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ อันดับที่ 2 ของโลก โดยนักวิเคราะห์มองว่า อินเดียมีประสิทธิภาพในการผลิตวัคซีนให้กับประชากรในประเทศของตัวเองและให้กับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ด้วย
วัคซีนส่วนใหญ่ของโลกถูกผลิตจากอินเดีย แม้กระทั่งในช่วงก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 อินเดียสามารถผลิตวัคซีนมากกว่า 60% ของวัคซีนทั่วโลก ทั้งยังสามารถทำได้ด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ ด้วยเหตุนี้ ที่ปรึกษาจากบริษัทดีลอยท์ ได้คาดการณ์ว่า อินเดียจะกลายเป็นผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 รายใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ในปีนี้ โดยอินเดียจะสามารถผลิตวัคซีนได้มากกว่า 3.5 พันล้านโดสภายในปี 2021 เทียบกับสหรัฐฯ ที่มีกำลังผลิตได้ 4 พันล้านโดส
ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทยาในอินเดียก็กำลังเตรียมพร้อมเพิ่มจะผลิตวัคซีนออกมาให้ทันตามความต้องการ โดยบริษัทภารัต ไบโอเทค ผู้ผลิตวัคซีนฉีดเข้ากล้ามเนื้อ COVAXIN ระบุว่ากำลังเร่งผลิตวัคซีนให้ได้ 700 ล้านโดส ทั้งนี้ วัคซีน COVAXIN ได้รับการอนุมัติใช้ฉุกเฉินในอินเดียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณถึงผลการทดสอบที่ไม่โปร่งใส และยังไม่มีข้อมูลที่แสดงประสิทธิภาพของวัคซีนอย่างเพียงพอ
วัคซีนอีกหนึ่งตัวของอินเดีย คือ Covishield ซึ่งอินเดียร่วมพัฒนาโดยแอสตร้าเซเนก้าและมหาวิทยาลันออกซ์ฟอร์ด ก็ได้รับอนุมัติใช้ฉุกเฉินแล้วเช่นกัน และตอนนี้ก็ดำเนินการผลิตโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India หรือ SII) จากรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ส ระบุว่า SLL สามารถผลิตวัคซีน Covishield ได้เดือนละ 50 ล้านโดส และวางแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ 100 ล้านโดส ในช่วงเดือนมีนาคมนี้
วัคซีนของอินเดียจะเป็นวัคซีนที่เหมาะกับประเทศกำลังพัฒนา ขณะที่วัคซีนผู้นำที่มีอยู่ในตอนนี้ ทั้งไฟเซอร์-ไบออนเทค และโมเดิร์นนา ใช้เทคโนโลยี mRNA ซึ่งต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เย็นจัด จึงทำให้มีปัญหาด้านการขนส่ง ด้วยเหตุนี้ วัคซีนที่ผลิตขึ้นในอินเดียซึ่งง่ายต่อการขนส่ง และระคาต่ำกว่า จึงเป็นคำตอบที่ใช่มากกว่าสำหรับประเทศกำลังพัฒนา สล็อต